ส่วนที่2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียน

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โปรแกรม Scratch ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาการคำนวณ เนื้อหาวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ว20213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรม Scratch และสามารถนำทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน สร้างงานได้อย่างสร้างสรรค์ เนื่องจากนักเรียนยังขาดทักษะความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายและการใช้โปรแกรม Scratch การพัฒนาการเขียนโปรแกรม Scratch ในการเขียนโปรแกรมอย่างถูกวิธี จึงได้มีการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โปรแกรม Scratch ในการสร้างการ์ตูน เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานด้วยคอมพิวเตอร์ ให้นักเรียนได้ฝึกทบทวนความรู้ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติ เสริมความรู้ทักษะเชิงคำนวณ ให้นักเรียนเกิดเข้าใจใฝ่เรียนรู้มากยิ่งขึ้น

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 2564 ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัด ของเนื้อหา

2.2 จัดทำโครงร่างของเนื้อหาเอกสารชุดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โปรแกรม Scratch ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน

2.3 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา การเฉลยของตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

2.4 ครูผู้สอนนำชุดการเรียนมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 

2.5 นำเอกสารการเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โปรแกรม Scratch ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในรายวิชาการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ว20213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท

2.6 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และการสอนซ่อมเสริม สำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 3 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 108 คน ได้รับการพัฒนาความรู้ เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โปรแกรม Scratch ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน โดยมีคะแนนทดสอบหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนภาคผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โปรแกรม Scratch ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากขึ้นไป

3.2 เชิงคุณภาพ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 3 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 108  คนได้รับการพัฒนาความรู้ เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โปรแกรม Scratch ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้ความรู้ทางการเขียนโปรแกรม เพื่อสร้างเกม และนิทาน มีพื้นฐานเพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป